สนับสนุน

การเขียนบทวิทยุโทรทัศน์

อรนุช เลิศจรรยารักษ์ (2544, หน้า 299-300) กล่าวถึงหลักการเขียนบทวิทยุโทรทัศน์ ไว้ดังนี้

หลักการเขียนบทวิทยุโทรทัศน์ 

โทรทัศน์เป็นสื่อที่ให้ทั้งภาพและเสียง ดังนั้น การเขียนสำหรับรายการโทรทัศน์จึงต้องเขียนให้ทั้งดูและฟังไม่เขียน ในรูปสำหรับให้อ่าน ฉะนั้น การเขียนสำหรับโทรทัศน์จึงควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้



1. เขียนโดยใช้สำนวนสนทนาที่ใช้สำหรับการพูดคุย มิใช่เขียนในแบบของหนังสือวิชาการ (text book) จึงเขียนสำหรับให้ทั้งดูและฟัง ไม่เขียนในรูปแบบซึ่งเร้าใจให้อ่าน





2. เขียนโดยเน้นภาพให้มาก ดังคำขงจื้อที่ว่า “คิดให้กระจ่างชัดดังเป็นภาพ รายการโทรทัศน์จะไม่บรรจุคำพูดไว้ทุก ๆ วินาที แบบรายการวิทยุ”

3. เขียนอธิบายแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่กำลังพูดถึง ไม่เขียนและบรรยายโดยปราศจากภาพประกอบ

4. เขียนเพื่อเป็นแนวทางให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชมแต่ละกลุ่ม ผู้ซึ่งเป็นเป้าหมายในรายการของท่าน มิใช่เขียนสำหรับผู้ชมโทรทัศน์ส่วนใหญ่





5. พยายามใช้ถ้อยคำสำนวนที่เข้าใจกันในยุคนั้น ไม่ใช้คำที่มีหลายพยางค์ ถ้ามีคำเหมือน ๆ กันให้เลือก จงเลือกใช้คำที่เข้าใจได้ง่ายกว่า

6. เขียนเรื่องที่น่าสนใจและต้องการเขียนจริง ๆ ไม่พยายามเขียนเรื่องซึ่งน่าเบื่อหน่าย
เพราะความน่าเบื่อจะปรากฏบนจอโทรทัศน์

7. เขียนโดยพัฒนารูปแบบการเขียนของตนเอง ไม่ลอกเลียนแบบการเขียนของคนอื่น

8. ค้นคว้าวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อจะมาใช้สนับสนุนเนื้อหาในบทอย่างถูกต้องไม่เดาเอาเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีข้อเท็จจริงเข้าไปเกี่ยวข้อง






9. เขียนบทเริ่มต้น (opening) ให้น่าสนใจและกระตุ้นให้ผู้ชมอยากชมต่อไป

10. เขียนโดยเลือกใช้อารมณ์แสดงออกในปัจจุบัน (now experession) ไม่เป็นคนล้าสมัย

11. ไม่เขียนเพื่อรวมจุดสนใจทั้งหมดไว้ในฉากเล็ก ๆ ในห้องที่มีแสงไฟสลัว ผู้ชมต้องการมากกว่านั้น

12. ใช้เทคนิคประกอบพอควร ไม่ใช้เทคนิคประกอบมากเกินไปจน เป็นสาเหตุให้สูญเสียภาพที่เป็นส่วน สำคัญที่ต้องการ ให้ผู้ชมได้เข้าใจได้เห็น






13. จงให้ความเชื่อถือผู้กำกับรายการว่าสามารถแปลและสร้างสรรค์ภาพ ได้ตามคำอธิบาย และคำแนะนำของผู้เขียน ผู้กำกับจะตัดทอนบท ให้เข้ากับเวลาที่ออกอากาศ และไม่ต้องแปลกใจ
ถ้าบรรทัดแรก ๆ ของบทถูกตัดออก หรืออาจผิดไปจากช่วงต้น ๆ ที่เขียนไว้ ต้องให้ความเชื่อถือ
ผู้กำกับรายการและไม่พยายามจะเป็นผู้กำกับรายการเสียเอง

14. ไม่ลืมว่าผู้กำกับจะแปลความเร้าใจของผู้เขียนบทออกมาได้จากคำอธิบาย และคำแนะนำที่ผู้เขียนเขียนเอาไว้ในบท

15. ผู้เขียนบทต้องแจ้งให้ทราบถึงอุปกรณ์ที่ต้องใช้เป็นพิเศษ ซึ่งจำเป็นและอาจหาได้ยาก เวลาเขียนควรคำนึงด้วยว่า อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบนั้นเป็นอุปกรณ์ซึ่งไม่สิ้นเปลือง ค่าใช้จ่าย
มากเกินไป และอุปกรณ์นั้นต้องหาได้




การใช้ภาษาในการเขียนบทวิทยุโทรทัศน์


ภิญโญ ช่างสาน (2539, หน้า 389) กล่าวถึงการใช้ภาษาในการเขียนบทวิทยุโทรทัศน์ ไว้ดังนี้


การใช้ภาษาในการเขียนบทวิทยุโทรทัศน์โดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายกับการใช้ภาษา ในการเขียน บทวิทยุกระจายเสียง ต่างกันที่การใช้ภาษาในการเขียนบทวิทยุกระจายเสียง เป็นการใช้ภาษา เพื่อการฟังเพียงอย่างเดียว แต่การใช้ภาษาในการเขียนบทวิทยุโทรทัศน์ เป็นการใช้ภาษาเพื่อ การดูและการฟัง ประกอบกัน ทั้งนี้เพราะวิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อที่สามารถ สื่อสารด้วยวัจนภาษาได้แก่ คำพูด คำอ่าน คำบรรยาย และอวัจนภาษา ได้แก่ ภาพ การเคลื่อนไหว แสง สี เสียงดนตรี เสียงประกอบ และความเงียบ ได้อย่างชัดเจน ฉะนั้นการใช้ภาษาในการเขียนบทวิทยุโทรทัศน์ จึงควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้



1. ใช้ภาษาสำนวนสนทนาที่ง่าย กระชับ ชัดเจน สื่อได้ทั้งเสียงและภาพประกอบกัน
อย่างกลมกลืน

2. ใช้ถ้อยคำภาษาให้สอดคล้องกับรูปแบบรายการ และเหมาะสมกับผู้ชมกลุ่มเป้าหมาย

3. ใช้ภาษาที่สุภาพ ไม่ใช้ถ้อยคำที่ส่อไปในทางหยาบคายหรือลามกอนาจาร

4. ใช้ภาษาที่สร้างสรรค์ ไม่ใช้ถ้อยคำยั่วยุ บิดเบือน หรือเสียดสีผู้อื่น จนก่อให้เกิดความ
สับสน หรือเกิดความแตกแยกขึ้นในสังคม

5. ใช้ภาษาที่แสดงความใกล้ชิด และเป็นกันเองกับผู้ชมรายการทั้งผู้ชมในห้องส่ง
และผู้ชมทางบ้าน

6. ใช้คำที่ออกเสียงได้ง่าย หลีกเลี่ยงการใช้คำที่ออกเสียงยากหรือพูดลิ้นพันกัน
ถ้าจำเป็น ต้องใช้คำที่อ่านยากควรเขียนคำอ่านไว้ในวงเล็บด้วย

7. ใช้ศัพท์เทคนิคในการถ่ายภาพได้ถูกต้อง เพื่อจะได้ระบุลงไปให้แน่ชัดว่าในแต่ละชอต
(shot) ในแต่ละฉาก (scene)ควรจะสื่อด้วยภาพอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับเนื้อหาสาระ
และน่าสนใจยิ่งขึ้น






1 ความคิดเห็น: