สนับสนุน

วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ระบบโทรทัศน์


   


    โทรทัศน์ในโลกนี้มีหลายระบบ มีความแตกต่างกันในเรื่องระบบไฟฟ้า เช่น ทางยุโรปใช้ไฟฟ้า 220 โวลต์ 50 เฮิรตซ์ แต่ทางอเมริกาใช้ระบบไฟฟ้า 110 โวลต์ 60 เฮิรตซ์ เพราะจำนวนภาพที่ปรากฏบนจอเท่ากับครึ่งหนึ่งของความถี่ไฟฟ้าจึงได้ภาพที่นิ่งที่สุด


1. ระบบเอ็นทีเอสซี (NTSC : National Television System Committee) เป็นระบบ 525 เส้น เกิดภาพ 30 ภาพต่อวินาที เป็นโทรทัศน์สีระบบแรกของโลก สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ค้นคิด และใช้ในสหรัฐอเมริกา

2. ระบบพอล (PAL : Phase Alternation Line) เป็นระบบ 625 เส้น เกิดภาพ 25 ภาพต่อวินาที เยอรมันเป็นผู้คิดค้น นิยมใช้กันมากในยุโรป ออสเตเลีย และไทย

3. ระบบเซกัม (SECAM : Sequential Couleur A Memoire) เป็นระบบเหมือนกับระบบ PAL ฝรั่งเศสเป็นผู้ค้นคิดระบบแพร่ภาพและเสียงของโทรทัศน์

  • ระบบการแพร่ภาพและเสียงของโทรทัศน์ สามารถจำแนกได้ ดังนี้

1. ระบบโทรทัศน์วงจรเปิด (Open-Circuit Television) เป็นระบบที่เครื่องส่งและเครื่องรับไม่ได้ต่อสายถึงกัน ใช้ส่งและรับสัญญาณผ่านอากาศโดยอาศัยคลื่นวิทยุเป็นพาหะ




        1.1 ระบบ VHF (Very High Frequency) เป็นระบบที่มีย่านความถี่ ระหว่าง30-300 เมกะเฮิรตซ์ ในการออกอากาศ มี 12 ช่อง คือช่อง 1-12 โดยแยกเป็น Low Band ใช้กับช่อง 2-4 คือ ช่อง 3 และ High Band ใช้กับช่อง 5-12 ได้แก่ ช่อง 5 , 7 , 9 และ11

       1.2 ระบบ UHF (Ultra High Frequency) เป็นระบบที่มีย่านความถี่ ระหว่าง300-3,000 เมกะเฮิรตซ์ ในการออกอากาศ ใช้กับช่อง 20-69 เช่น ITV ใช้ช่อง 26

2.ระบบโทรทัศน์วงจรปิด (Closed-Circuit Television : CCTV) หรือโทรทัศน์ตามสาย เป็นระบบโทรทัศน์ที่ส่งภาพและเสียงตามสายเคเบิลจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับแทน การออกอากาศ

3. ระบบโทรทัศน์ทางสายเคเบิล (Cable Television : CTV) หรือเคเบิลทีวี เป็นการส่งสัญญาณโทรทัศน์ทางสายเคเบิล โดยส่งรายการโทรทัศน์จากสถานีโทรทัศน์หลัก หรือสถานีย่อยไปตามสายเคเบิลสู่กลุ่มผู้ชมทางบ้านโดยคิดค่าบริการจากผู้ชม จึงนิยมเรียกระบบนี้ว่า Pay As You See TV โทรทัศน์ระบบนี้มีประโยชน์มากในชุมชนที่มีพื้นที่เป็นภูเขา หรืออยู่ในหุบเขา ซึ่งยากที่จะรับสัญญาณโทรทัศน์ที่ส่งออกอากาศ

4.ระบบโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม (Television Satellite) ดาวเทียมเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ โดยการยิงสัญญาณจากสถานีโทรทัศน์บนภาคพื้นดินขึ้นสู่ดาวเทียม และดาวเทียมจะทวนสัญญาณมาสู่สถานีรับสัญญาณภาคพื้นดิน และสถานีนี้จะส่งออกอากาศบริการแก่ชุมชนในพื้นที่อีกทอดหนึ่ง ทำให้พื้นที่เป้าหมายกว้างขวางตามปริมาณของสถานีรับสัญญาณจากดาวเทียม เช่น การแพร่ภาพได้ทั่วประเทศของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3, 5, 7, 9 และช่อง 11 ในปัจจุบันนิยมเรียกว่า ระบบ C-Band และพัฒนาเป็นระบบ Ku-Band คือ สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ที่ส่งโดยตรงจากดาวเทียม ระบบการส่งสัญญาณโดยตรงจากดาวเทียมสู่ผู้รับ (Direct Broadcast Satellite : DBS) ผ่านทางจานรับสัญญาณบนหลังคาบ้านที่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 1 ฟุตเท่านั้นการเผยแพร่รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและฝึกอบรมในการเผยแพร่รายการเพื่อการศึกษาและฝึกอบรม สามารถทำได้หลายวิธีการด้วยกัน ตามการพัฒนาเทคโนโลยีด้านโทรทัศน์ 



      1. ระบบส่งออกอากาศ การเผยแพร่ในลักษณะนี้ต้องอาศัยสถานีโทรทัศน์ อาจจะโดยการเช่าเวลาของสถานีโทรทัศน์เพื่อการค้า (Commercial Television) ที่มีอยู่ทั่ว ๆ ไปหรือการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษาขึ้นมาโดยตรง โรงเรียน สถาบันการศึกษา ผู้เรียนหรือผู้ชม จะต้องอยู่ในรัศมีของการออกอากาศจึงรับชมได้ และจะต้องจัดเวลาเรียนให้สัมพันธ์กับเวลาออกอากาศชม แต่ปัจจุบันนี้ หากมีเครื่องบันทึกเทปโทรทัศน์ก็สามารถบันทึกรายการไว้ก่อน และนำมาชมในภายหลังได้ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องของเวลา

    2. ระบบส่งตามสาย การส่งรายการแบบนี้สามารถทำได้สองลักษณะ คือ การทำเป็นรายการสด เช่น การทดลองทางวิทยาศาสตร์ แล้วใช้กล้องโทรทัศน์ถ่ายทอดส่งสัญญาณ ไปตามสายเพื่อไปยังเครื่องรับภาพ สำหรับผู้ชมที่นั่งด้านหลัง หรือไปยังห้องเรียนอื่น ๆ หรือใช้เทปโทรทัศน์ที่จัดทำไว้เรียบร้อยแล้วถ่ายทอดไปยังห้องเรียนต่าง ๆ นอกเหนือจากการส่งไปตามสายในสถานศึกษาแล้ว ยังอาจส่งไปตามบ้านเรือนในลักษณะเดียวกันนี้ได้

  3. ระบบห้องสมุด รายการการศึกษาหรือฝึกอบรมต่าง ๆ จะได้รับการจัดทำเก็บไว้ในรูปของเทปโทรทัศน์หรือแผ่นบันทึกภาพ เก็บไว้อย่างเป็นระบบในรูปของห้องสมุดผู้ศึกษาสามารถยืมมาชมได้ ทั้งในห้องสมุดนั้นมีโต๊ะเรียนรายบุคคลพร้อมเครื่องเล่นเทปโทรทัศน์ ให้เข้าชมได้เลย หรือการยืมออกไปศึกษาที่บ้าน

  4. ระบบเทปโทรทัศน์เคลื่อนที่ ในระบบนี้จะใช้รถพร้อมเครื่องบันทึกเทปโทรทัศน์เครื่องรับภาพขนาดใหญ่ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งมักจะเรียกว่า Mobile Unit รถนี้จะเคลื่อนที่ไปยังชุมชนต่าง ๆ พร้อมด้วยเทปโทรทัศน์ที่เหมาะสมกับความสนใจของท้องถิ่นนั้น ๆ ระบบนี้จะช่วยส่งเสริมการฝึกอบรมในท้องถิ่นได้อย่างรวดเร็วและจริงจัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น